เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [14. จุททสมวรรค] 8. อัพยากตกถา (143)
ปร. หากกามราคะ นอนเนื่องอยู่ในกามธาตุ นับเนื่องในกามธาตุ ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปราคะนอนเนื่องอยู่ในรูปธาตุ นับเนื่องในรูปธาตุ อรูปราคะ
นอนเนื่องอยู่ในอรูปธาตุ นับเนื่องในอรูปธาตุ”
ปริยาปันนกถา จบ

8. อัพยากตกถา (143)
ว่าด้วยอัพยากฤต
[706] สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต1ใช่ไหม
ปร.2 ใช่
สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบาก เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยา เป็นรูป เป็น
นิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 คำว่า อัพยากฤต มี 2 ความหมาย คือ 1. อัพยากฤตที่มีความหมายว่าไม่ให้ผล ได้แก่ อัพยากฤต 4 อย่าง
คือ (1) วิปากอัพยากฤต (2) กิริยาอัพยากฤต (3) รูปอัพยากฤต (4) นิพพานอัพยากฤต (ตามแนวพระ
อภิธรรม) 2. อัพยากฤตที่มีความหมายว่าไม่พยากรณ์ เช่น การไม่พยากรณ์ว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง เป็นต้น
(ตามแนวพระสูตร) ในที่นี้ปรวาทีใช้คำว่าอัพยากฤต ในความหมายตามแนวพระสูตร ส่วนสกวาทีใช้
ความหมายตามแนวพระอภิธรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. 706/277)
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 706/277)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :755 }